วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Monday  21  October  2019

Learnig  Log  9



          วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้
1.วิเคราะห์จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  2560   
     ได้แก่   ส่วนที่ ประสบการณ์สำคัญ  เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้      
ส่วนที่  2  สาระสำคัญทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก   ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2.วิเคราะห์หัวเรื่อง  เขียนมาเป็น  My Mapping (คู่กับประสบการณ์สำคัญ)
3.ออกแบบกิจกรรม   (เนื้อหาจากข้อ 1   ตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้)
4.จัดลำดับกิจกรรม 6  หลักให้ครบทั้ง  5  วัน  

1.การเขียนแผนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
      ได้แก่   1.แบบบรรยาย  2.แบบผู้นำ-ผู้ตาม   3.แบบตามคำสั่ง   4.แบบตามข้อตกลง 
4.แบบประกอบจังหวะเพลง  5.แบบพร้อมกับอุปกรณ์
ประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ  1.กิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐาน    2.กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา  3.กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

2.การเขียนแผนกิจกรรมกลางแจ้ง
       ส่วนที่ 1 การเล่นอิสระ 
       ส่วนที่  2  เกมเบ็ดเตล็ดและเกมผลัด  (เกมเบ็ดเตล็ด  เป็นเกมที่ได้กันครบทุกคน  เช่น  เกมมอญซ่อนผ้า      ส่วนเกมผลัด  เป็นเกมที่มีจุดเริ่มต้น-วกกลับ  และมีจุดจบ  เช่น  เกมเก็บของ )   ในช่วงวัยเด็กเล็ก  เด็กจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  " Ecocentric"  เริ่มจากเล่นคนเดียว   เล่นเป็นคู่ขนานและเล่นเป็นกลุ่ม  โดยครูต้องใช้การสาธิตในการสอนกิจกรรมต่างๆ

3.การเขียนแผนเกมการศึกษา
       ได้แก่  เกมจับคู่ภาพเหมือน   เกมลอตโต   เกมจัดหมวดหมู่   เกมโดมิโน   เกมจับคู่ความสัมพันธ์ 2 แกน   เกมอนุกรม   เกมจิกซอว์ล   เกมพื้นฐานการบวก   และ เกมแมกนิกูแร็ก
เริ่มแรกโดยให้เด็กทำกิจกรรมก่อนหรือเกมศึกษาแบบเก่า  ผลัดกันเล่นกันจนครบก่อนเริ่มทำกิจกรรมเกมศึกษาในเนื้อหาใหม่ต่อไป

4.การเขียนแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
       ส่วนที่ 1   ขั้นนำ  ครูใช้สื่อในการเก็บเด็กให้สงบนิ่ง   เช่น  นิทาน  เพลง  คำคล้องจอง  เกมการศึกษา    และปริศนาคำทาย  (นิทานนำไปสู่การสอนได้เช่นกัน)
       ส่วนที่ 2   ขั้นสอน    1.ครูและเด็กร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้  เช่น  หน่วย ผลไม้
ใช้เพลง ผลไม้   มาให้เด็กๆร้องกัน
2.ถามความรู้เดิมเด็กๆ เกี่ยวกับผลไม้ 
3.ใช้สื่อ  เช่น  ตะกร้าผลไม้    ครูเรียงผลไม้จากซ้ายไปขวา  จากนั้นครูหยิบผลไม้ขึ้นมาทีละผล  แล้วถามว่าผลไม้มีชื่อเรียกว่าอย่างไร   แล้วนับผลไม้  ถามเด็กๆว่าผลไม้มีทั้งหมดจำนวนเท่าไร  เขียนเลขอารบิกกำกับผลไม้    ต่อมาให้เด็กๆหบิบตัวเลขมาแทนค่าและแยกประเภทผลไม้  โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ 1 การนับจำนวนตัวเลข ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์  (ประสบการณ์สำคัญ  คือ  1.การนับจำนวนเลข   2.การจัดหมวดหมู่/เปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า)
       ส่วนที่ 3 ขั้นสรุป   ครูสรุปว่า  ผลไม้มีอะไรบ้าง   มีสีใดบ้าง  เปรียบเทียบมากน้อยผลไม้  และสุดท้ายให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ



                    กิจรรม  STEM  Education   เรื่อง  การสร้างแหล่งน้ำ

1.อาจารย์แจกกระดาษชารท์ให้นักศึกษาวาดรูปแหล่งน้ำ
2.แจกกระดาษ  เทปใส มาสร้างที่ปล่อยน้ำ
3.แจกหลอดและลูกปิงปอง  มาทำสไลด์เดอร์

สรุปการทำกิจกรร STEM  Education
   
      S    ได้เรียนรู้เรื่อง  แรงเสียดทาน 
      T    ได้คิดว่าจะนำสิ่งใดมาสร้าง  และแก้ปัญหากับการสร้างแหล่งให้ดียิ่งขึ้น
      E    ได้ออกแบบการสร้างแหล่งน้ำและสไลด์เดอร์
      M   ได้คำนวณการใช้อุปกรณ์ในการสร้างสไลด์เดอร์


Self  Assessment

          เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรีบยร้อย และตั้งใจทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆอย่างตั้งใจมากค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกกลุ่ม ระดมสมองช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจตามที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ

Teacher  Assessment

          อาจารย์อธิบายการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างละเอียดชัดเจนและมีการยกตัวอย่างเป็นอย่างดีมากค่ะ

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Monday  10  October  2019

Learnig  Log  8



        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 5 คน เพื่อเขียนการจัดการเรียนรู้แบบโปรเจกต์ (Project Approach โดยให้นักศึกษาเอาเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ภายในห้องเรียน


กลุ่มที่  1    โปรเจกต์  เรื่อง  กระเป๋า




กลุ่มที่  2   โปรเจกต์   เรื่อง  กระเป๋า



กลุ่มที่  3   โปรเจกต์  เรื่อง  กระดุม




กลุ่มที่  4   โปรเจกต์  เรื่อง  ดินสอ




กลุ่มที่  5   โปรเจกต์  เรื่อง  รองเท้า




กลุ่มที่  6   โปรเจกต์  เรื่อง  แอร์





 กลุ่มที่  7   โปรเจกต์  เรื่อง  กระดุม


 
ระยะที่  1   ระยะเริ่มต้น
    1.เด็กๆระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้    ดังนี้
            -กระดุม   
            -รองเท้า 
            -เสื้อ 
            -กระเป๋า
สรุป:  เด็กๆตกลงร่วมกันอยากรู้เรื่อง  กระดุม เพราะอยากรู้ว่า กระดุม  มีกี่ประเภท และทำมาจากอะไร
      
    2.คูรถามประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับ กระดุม    ดังนี้
            -คุณแม่ติด กระดุม ชุดนักเรียน
            -หนูทำ กระดุม หลุดคุณแม่เย็บให้หนู
            -หนูไปตลาดเห็นร้านขาย กระดุม
            -เสื้อหนูมี กระดุม 5  เม็ด
(วาดรูปสถานการณ์ต่างๆตามคำพูดเด็ก)
      
     3.คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับ "กระดุม"
            -น้องเดียร์: กระดุม มีสีอะไรบ้าง
            -น้องมายด์: กระดุม  มีแบบไหนบ้าง
            -น้องเฟียส: ประโยชน์ของ กระดุม มีอะไรบ้าง
            -น้องใหม่: กระดุม  ทำมาจากอะไร

ระยะที่ 2  ระยะรวบรวมข้อมูล

      1.วิธีการค้นหาคำตอบ     ดังนี้
           1.1 สืบค้นข้อมูลที่ห้องสมุด
           1.2 สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
           1.3 ไปร้านขายกระดุม
           1.4 ไปศึกษาที่โรงงานผลิตกระดุม
           1.5 นำวิทยากรมาให้ความรู้
      2.สำรวจความคิดเห็นของเด็กๆ ในห้องเรียนทั้งหมด
      3.รวบรวมข้อมูลแล้วสรุปผลเป็นกราฟฟิกรูปแบบต่างๆที่แตกต่างกันไปในแต่ละหัวข้อ

ระยะที่  3  ระยะสรุปผล
       การจัดนิทรรศการ  "กระดุม"
พิธีกร: ทุกคน ปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน
น้องเดียร์:  ประสบการณ์เดิม
น้องมายด์: วาดประสบการณ์
น้องใหม่: คำถามที่เด็กๆ อยากรู้
น้องเฟียส: วิธีการค้นหาคำตอบ
น้องเดียร์: สีของ กระดุม
น้องมายด์: ลักษณะของ กระดุม
น้องเฟียส: ประโยชน์ของ กระดุม
น้องใหม่: วัสดุที่นำมาทำ กระดุม

สารนิทัศน์

1.เด็กๆทุกคนให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันในการทำโปรเจกต์ (เดียร์)
2.เด็กๆให้ความสนใจและอยากเรียนรู้เรื่อง กระดุม  (มายด์)
3.เด็กๆรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  (ใหม่)
4.เด็กๆรู้จักการช่วยเหลือกันและกัน และแบ่งหน้าที่กันทำงาน   (เฟียส)



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารนิทัศน์ปฐมวัย
                                                           
                                          http://child.dusit.ac.th


Self  Assessment

          เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรีบยร้อย และตั้งใจทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆอย่างตั้งใจมากค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกกลุ่ม ระดมสมองช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจตามที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ

Teacher  Assessment

          อาจารย์พูดเสนอแนะข้อมูลที่ควรเพิ่มเติมของทุกกลุ่มในเรื่อง การเขียนตัวหนังสือ  การใช้สีไม่ควรใช้สีสะท้อนแสง   การจัดเรียงข้อมูลควรทำเป็นช่องมีกรอบแบ่งอย่างชัดเจนเพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย และการทำสารนิทัศน์ที่ถูกต้อง