วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

Monday  23  September  2019

Learnig  Log  7


1.การจัดการเรียนรู้แบบทักษะ  Executive  Function  ( EF)

 ความหมายทักษะ EF 

          กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน    ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย (การที่จะทำให้บบรรลุเป้าหมายจึงต้องมีปัญหา)

 ทักษะ EF  แบ่งเป็น 3  ทักษะ   ดังนี้

        1.ทักษะพื้นฐาน
        2.ทักษะปฏิบัติ
        3.ทักษะกำกับตนเอง

 ทักษะ  EF  มี  9  ด้าน  ดังนี้

        1.ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)  การดึงข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่จำและเก็บไว้มาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
       2.ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibtion)  ความสามรถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
       3.ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive/Flexibility)  ความสามรถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดติดอยู่กับความคิดเดิมๆ
       4.ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)  ความสามารถในการควบคุมแสดงอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
       5.ทักษะจดจ่อใส่ใจ  (Focus/Attention)   ความสามรถในการใส่ใจจดจ่อ  มุ่งความสนใใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
       6.ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)  การรู้จักตนเอง รู้ว่าทำอะไร คิดอะไร สามารถประเมินหาข้อบกพร่องได้
       7.ทักษะริ่เริ่มและลงมือทำ  (Initialing)  ความสามรถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิดและลงมือทำที่คิด  กล้าทำ ไม่กลัวความล้มเหลว
       8.ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ  (Planning and Organizing)   ทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย  การวางแผน  และการมองเห็นภาพรวม
       9.ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) ความพากเพียรและอดทนมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้  

วิธีการพัฒนาทักษะ EF
       1.การเรียนรู้ที่คล่องแคล่ว  
       2.ให้อิสระในการเล่น
       3.การเรียนรู้ผ่านการเล่น
       4.การเรียนรู้และปฏิบัติตามกติกา
       5.การเรียนรู้ผ่านการแก้ไขปัญหา

ตัวอย่างการสอน:  กลุ่มที่ 1  กิจกรรมต่อรางรถไฟโดยใช้หลอด



1.ให้เด็กๆเลือกอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม   เช่น   สีหลอด แทน  รางรถไฟ และ ลูกปิงปอง  แทน รถไฟ
2.ให้เด็กๆต่อหลอดให้เป็นรางรถไฟเพื่อให้รถไฟวิ่งได้   (ครูกำหนดเวลา 2 นาที)  
3.ให้เด็กๆออกมานำเสนอผลงาน หรือ การทำกิจกรรมในการต่อรางรถไฟ
รอบที่ 2  ให้เด็กๆเริ่มทำกิจกรรมใหม่อีกครั้ง โดยรื้อของเดิมออกมาทำใหม่ทั้งหมด (ครูกำหนดเวลา)
ข้อเสนอแนะอาจารย์:  1.ตั้งปัญหา คือ  เรื่องน้ำ   (ให้เด็กๆวาดรูปแหล่งน้ำที่เคยได้ไปกับครอบครัวโดยจับกลุ่มกันกับเพื่อนๆ)
2.ครูถามเด็กๆต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ใดบ้างในการทำแก้วน้ำหรือสไลด์เดอร์
3.ครูและเด็ก ร่วมกันดำเนินการตามแผนที่วางไว้ข้างต้น  (ครูทำแบบประเมินในการทำกิจกรรม และนำไปออกแบบกิจกรรมในขั้นต่อไป)
4.ครูให้เด็กๆออกแบบการทำแก้วน้ำหรือสไลด์เดอร์ ที่เด็กๆชอบ

ตัวอย่างการสอน: กลุ่มที่ 2   กิจกรรมฉีกกระดาษให้ยาวที่สุด                                                            


1.ครูตั้งปัญหา คือ  ทำอย่างไรกับกระดาษถึงจะฉีกกระดาษให้ได้ยาวที่สุด

2.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆ ทำกิจกรรม 
3.เด็กๆเริ่มทำกิจกรรมฉีกกระดาษ  กลุ่มใดฉีกกระดาษได้ยาวที่สุดเป็นฝ่ายชนะ  (ครูกำหนดเวลา)

2.การจัดการเรียรู้แบบมอนเตสซอรี่  (Montessori)   โดย Dr. Maria Montessori                                



ความหมายการสอนแบบมอนเตสซอรี่
         เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุกๆด้านในเวลาเดียวกัน 

แนวทางการสอนแบบมอนเตสซอรี่
         เริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ  และทางประสาทสัมผัส  เช่น   การแต่งกาย   การทำความสะอาด  และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ  อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน  เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่างๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้  การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน  เช่น  อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์    อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา  การมองเห็น   การชิมรส  การได้ยิน  การดมกลิ่น  เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน

หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
       1.เด็กได้รับการยอมรับนับถือ
       2.เด็กได้เกิดการซึมซับ
       3.เด็กได้เรียนรู้ช่วงเวลาหลักของชีวิต
       4.การเตรียมสิ่งแวดล้อม
       5.การศึกษาด้วยตนเอง
       6.การวัดประเมินผล
             
            หลักการที่สำคัญที่สุดของการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) สำหรับเด็กปฐมวัย คือ คุณครูต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็ก ปลูกฝังให้เด็กเจริญเติบโตตามความต้องการตามธรรมชาติ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างอิสระ การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตัวเองและซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ

(การเรียนรู้จากสิ่งของเล่น  คือ  หอคอยพิงค์   ของเล่นจะเรียงจากซ้ายเป็นต้นไปตามช่วงอายุ 3-6 ปี โดยใครเล่นไม่ได้ต้องเล่นให้จนได้)
         
ตัวอย่างการสอน: กลุ่มที่  1 กิจกรรมรูปทรงเรขาคณิต



ตัวอย่างการสอน: กลุ่มที่  2  กิจกรรมถุงปริศนา

 

 


                                     
                                        คลิปวีดีโอ:  กิจกรรมถุงปริศนา



  สุดท้ายได้ทำกิจกรรม Cooking   (หน่วย  ไข่)    กลุ่มดิฉันได้ทำเป็นของหวาน  เมนู "ขนมปังชุบไข่"         

                   

1.ส่วนประกอบ  
    -ไข่
    -ขนมปัง
    -กล้วยหอม
    -คอนเฟลก
    -นมข้น รสช็อกโกแลต
    -น้ำมันพืช

2.อุปกรณ์ในการทำ
     -กระทะ
     -ทัพพี
     -เขียง
     -มีด
     -ถ้วย  จาน
   

Self-Assessment

        เข้าเรียนตรงต่อเวลา    แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟังการรายงานของเพื่อนๆและจดบันข้อมูลในการจัดการเรียนรู้ที่อาจารย์เพิ่มเติมค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกลุ่ม นำเสนอการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆกันอย่างเต็มที่เป็นอย่างมากค่ะ  มีการเตรียมกิจกรรม และสื่อประกอบการสอนเป็นอย่างดีค่ะ

Teacher  Assessment

          อาจารย์พูดเพิ่มเติมในหลักการสอนแต่ละรูปแบบการสอน อย่างละเอียดเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อที่นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องตามหลักการค่ะ
                         

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

Wednesday  9  September  2019

Learnig  Log  6



      วันนี้เป็นการนำเสนอการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัยของนักศึกษา  ดังนี้


1.การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป   (High-Scope)   โดย  Dr.David  Weikart  
                       
                             

       ไฮสโคป (High Scope)  หมายถึง  การสอนที่เน้นการเรียนรู้แบบลงมือทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น โดยการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระ ซึ่งตรงตามทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) นักการศึกษาที่สำคัญคนหนึ่งของโลก ความสำคัญในด้านพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน จะเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) เพราะเด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงทำให้เกิดความคิด  ความรู้  ความเข้าใจ และรู้จักลงมือแก้ปัญหาด้วยตนอง
        
        หลักการการสอนแบบไฮสโคป    ดังนี้

1.การวางแผน  (Plan) 
          แบ่งเด็กเป็น 2  กลุ่ม   คือ  กลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย   เด็กจะวางแผนนำสัญลักษณ์มาติดไว้ที่กิจกรรมที่สนใจจะทำก่อน
2.การลงมือปฏิบัติ  (Do)   
          เริ่มทำกิจกรรม  40-50  นาที  เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมเสร็จแล้วจะต้องนำไปส่งที่ครูและนำไปใส่ที่กล่องเก็บผลงาน   จากนั้นกลับมาหาครูประจำกลุ่ม  ครูถามเด็กว่าทำอะไรบ้าง
3.การทบทวน (Review)
        เด็กๆนำเสนอผลงานตนเอง โดยครูทบทวนถามว่าได้ทำตามที่วางแผนไว้หรือไม่  อย่างไรบ้าง

วงล้อแห่งการเรียนรู้   ประกอบด้วย 5 เรื่อง   ดังนี้  
       1.การเรียนรู้แบบ  Active  learning
       2.เรื่องของการปฏิสัมพันธ์ทางบวก 
       3.เรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
       4.การจัดกิจวัตรประจำวัน   ได้แก่  การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และทบทวน 
       5.การประเมินพัฒนาการ

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป   
         
          1.เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆตามความสนใจของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้จากผู้ใหญ่
         2.จัดเตรียม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ในห้องเรียนให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับอายุของเด็ก
         3.พื้นที่และเวลาในห้องเรียนแบบไฮ/สโคป ต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมของเด็ก ทั้งการทำกิจกรรมคนเดียวและการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม 
         4.เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับวัตถุและนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องของวัตถุนั้นได้ด้วยตัวเอง
         5.ภาษาจากเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็กออกมาเป็นคำพูด ซึ่งเด็กมักจะเล่าว่าตนเอง กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิด เด็กจะรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
         6.ครูคือผู้สนับสนุนและชี้แนะ ซึ่งครูในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ-สโคปนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่คอยรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด ทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และเป็นผู้สร้างสรรค์ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้พบกับประสบการณ์สําคัญมากมาย ในชิวตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ

 ตัวอย่างการสอน:   กลุ่มที่ 1  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์  (หน่วย  ตัวเรา) 
ได้แก่   วาดรูประบายสี       ปั้นดินน้ำมัน     ประดิษฐ์ของเล่น

 


ตัวอย่างการสอน: กลุ่มที่ 2  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 
ได้แก่   ฉีกปะติดรูปปลา    วาดรูปสีเทียน   ปั้นดินน้ำมัน


2.การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach   โดย Lillian Katz และ Sylvia Chard 

           Project Approach   หมายถึง การเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลก เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนามาจากการจัดการเรียนรู้แบบ Regio Emilia ในประเทศอิตาลี ด้วยวิธีการเรียนรู้แบบนี้ เด็กจะเรียนรู้ลุ่มลึกในเรื่องที่เด็กสนใจ อยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนั้น เป็นการเรียนรู้ที่เด็กจะเป็นนักวิจัยตัวน้อย วิธีการเรียนรู้แบบ Project Approach จะช่วยให้ครูบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมศึกษา หรือสุขศึกษา เข้าไปให้เด็กได้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการที่เด็กจะเรียนรู้ว่าจะสามารถหาคำตอบหรือข้อมูลของสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างไร และแหล่งข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้มีที่ใดบ้าง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับทราบด้วยวิธีที่หลากหลาย
         
ระยะที่  1  เริ่มต้น
          เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไร เกี่ยวกับเรื่องที่เลือกแล้วบ้าง ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง ฯลฯ เด็กๆบอกข้อสงสัยที่เด็กๆมีเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆจะเรียนรู้ และครูช่วยให้เด็กๆสรุปตั้งคำถามที่เด็กๆต้องการ หาคำตอบในระหว่างการสำรวจสืบค้นครั้งนี้ และบันทึกคำถามเหล่านั้น เด็กๆพูดคุยเกี่ยวกับว่าคำตอบที่เด็กๆจะสำรวจสืบค้นได้นั้น น่าจะเป็นอะไร อย่างไร ครูช่วยเด็กๆบันทึกความคาดคะเนของเด็กๆไว้ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในภายหลัง

ระยะที่  2  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้
           ครูช่วยเด็กๆวางแผนไปสถานที่ต่างๆ ที่เด็กๆสามารถสำรวจ สืบค้นได้ รวมถึงการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กๆสนใจเรียนรู้ ที่จะสามารถตอบคำถามของเด็กๆได้ มาให้ความรู้กับเด็กๆ เด็กๆใช้หนังสือและคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล โดยมีครูเป็นผู้ช่วยเหลือ ในระหว่างกิจกรรมในวงกลมที่เด็กๆสามารถประชุมร่วมกัน และนำเสนอรายงานสิ่งที่เด็กๆค้นพบในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นระยะ ครูส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กๆถามคำถามและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆแต่ละคนได้ค้นพบคำตอบหรือเรียนรู้ด้วย เด็กๆวาดภาพ ถ่ายภาพ เขียนคำและป้ายต่างๆ สร้างกราฟและหรือแผนภูมิสิ่งที่เด็กๆวัดและนับ แล้วเด็กๆก็สร้างจำลองสิ่งที่เด็กๆสนใจเรียนรู้กัน เมื่อเด็กๆเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เด็กๆสามารถพิจารณาทบทวนและเพิ่มเติมหรือทำจำลองใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิมไปได้เรื่อยๆด้วย

ระยะที่  3  การสรุป Project

         เด็กๆอภิปรายกันถึงหลักฐานต่างๆที่เด็กๆได้สืบและค้นพบที่ช่วยให้เด็กๆตอบคำถามที่เด็กๆตั้งไว้ได้ และเด็กๆจะได้เปรียบเทียบสิ่งที่เด็กๆเรียนรู้กับความรู้เดิมของเด็กๆว่าตรงกันหรือไม่ รวมถึงเปรียบเทียบกับการคาดคะเนของเด็กๆที่ทำไว้ตั้งแต่ระยะแรกด้วย เด็กๆช่วยกันวางแผนจัดแสดงให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ และบุคคลอื่นๆได้เห็น วิธีการเรียนรู้ กิจกรรม ผลงาน และสิ่งที่เด็กๆค้นพบเรียนรู้ เด็กๆลงมือจัดแสดงเพื่อแบ่งปันความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับ “ Project Approach ” ของเด็กๆ ครูจะได้ช่วยสนับสนุนส่งเสริมนักสืบรุ่นจิ๋วเหล่านี้วางแผน และดำเนินการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กๆทำ และค้นพบกันอย่างสนุกสนาน กระตือรือร้นและภาคภูมิใจ


ตัวอย่างการสอน:   กลุ่มที่ 1 โปรเจกต์เรื่อง  ช้าง


           
ระยะที่  1  เริ่มต้น
       -เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร โดยครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ 
       -เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไรเกี่ยวกับช้างบ้าง
       -ครูถามคำถามที่เด็กอยากรู้เรื่องช้าง และหาคำตอบด้วยวิธีใดได้บ้าง
       -ครูช่วยให้เด็กๆบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น วาด ปั้น จำลอง 

ระยะที่  2  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้

        -ครูให้ความรู้เรื่อง ช้าง  เช่น พาไปศึกษาหาความรูนอกสถานที่  หรือเชิญผู้ปกครองที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ช้าง  มาให้ความรู้เด็ก
        -ครูออกแบบกิจกรรมมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ภายในห้องเรียน

ระยะที่  3  การสรุปผล
        -ครูจัดนิทรรศการ  เรื่อง ช้าง   ตามมุมประสบการณ์ต่างๆ
        -รวบรวมเก็บข้อมูลทั้งหมด   ทั้งครู  ผู้ปกครองและเด็ก  
        -ประเมินการโปรเจคต์  เรื่อง ช้าง

ตัวอย่างการสอน:  กลุ่มที่ 2  โปรเจกต์  เรื่อง  นม
     


ระยะที่  1  เริ่มต้น
       -เด็กๆเลือกว่าจะศึกษาเรื่องอะไร  เช่น  นม ผักและไข่ 
       -เด็กๆอภิปรายว่า มีความรู้เดิมอะไรเกี่ยวกับนมบ้าง   ได้แก่
1.นมหกใส่กระโปรงตอนเช้า
2.คุณแม่ไปซื้อนมที่ตลาด
3.ดื่มนมแล้วอ้วก
ต่อจากนั้น ให้เด็กๆเขียนคำว่านมลงในช่องว่างที่ครูเว้นไว้หรือวาดภาพนม
       -ครูถามคำถามที่เด็กอยากรู้เรื่อง นม  เช่น  นมคืออะไร    นมมีรสชาติอย่างไร
       -ครูบันทึกความคิดของเด็กๆ ด้วยวิธีต่างๆ เช่น  เขียนบันทึก  วาดรูป 

ระยะที่  2  การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้

        -ครูและเด็กๆร่วมกันวางแผนในการที่จะเรียนรู้เรื่อง นม 
        -ครูให้ความรู้เรื่อง นม  ได้แก่
1. พาเด็กๆไปซื้อนมที่ซุปเปอร์มาร์เก็ต (เรียนรู้ความหมายของ "นม"  
2. พาเด็กๆไปห้องสมุด (เรียนรู้ที่มาของ" นม " เช่น  ลักษณะของนม    สีของนม  รสชาติ) พร้อมบันทึกข้อมูลทั้งหมดในการทำกิจกรรม
        -ครูออกแบบกิจกรรมมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ภายในห้องเรียน   เช่น  นำประเภทของนม มาให้เด็กได้เรียนรู้

ระยะที่  3  การสรุปผล
        -ครูจัดนิทรรศการ  เรื่อง นม   ตามมุมประสบการณ์ต่างๆ
        -รวบรวมเก็บข้อมูลทั้งหมด   ทั้งครู  ผู้ปกครองและเด็ก  

        -ประเมินการโปรเจกต์  เรื่อง นม

3.การจัดการเรียนรู้แบบ STAM  Education  
         
         1.1 วิทยาศาสตร์ (Science)  ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ด้านคณิตศาสตร์  รวมเข้าด้วยกัน

         1.2 เทคโนโลยี (Technology)  เป็นวิชาที่ว่าด้วยกระบวนการทำงานที่มีการประยุกต์ศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ หรือความจำเป็นของมนุษย์
         1.3 วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)   เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อมาอำนวยความสะดวกของมนุษย์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และกระบวนการทางเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ
         1.4 คณิตศาสตร์  (Mathematics)  เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับการคำนวณ หรือ วิชาที่เกี่ยวกับการคำนวณ เป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาและต่อยอดทางวิศวกรรมศาสตร์


 ตัวอย่างการสอน:   กลุ่มที่ 1  กิจกรรมเรือบรรทุกสินค้า
             

1.ครูบอกชื่อกิจกรรม และ บอกอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม   ได้แก่   ถังน้ำ   น้ำ ลูกแก้ว  ดินน้ำมัน กรรไกร และหลอดดูดน้ำ
2.ครูสาธิตการทำเรือบรรทุกสินค้า ให้เด็กๆได้เห็นเป็นแบบอย่าง
3.ครูแจกอุปกรณ์ให้เด็กๆในแต่ละกลุ่ม  โดยเด็กๆช่วยกันคิดวิธีสร้างเรือให้มันบรรทุกสินค้าได้มากที่สุด
4.เริ่มทำกิจกรรม  ครูเป็นผู้สนับสนุนเด็กและบันทึกผลการทำกิจกรรม

ตัวอย่างการสอน:  กลุ่มที่ 2    กิจกรรมแพลอยน้ำ




1.ครูบอกชื่อกิจกรรม และ บอกอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม   ได้แก่   ถังน้ำ  น้ำ  เหรียญบาท และ ดินน้ำมัน 
2.ครูสาธิตการทำเรือบรรทุกสินค้า ให้เด็กๆได้เห็นเป็นแบบอย่าง
3.ครูแจกอุปกรณ์ให้เด็กๆในแต่ละกลุ่ม  โดยเด็กๆช่วยกันคิดวิธีสร้างเรือให้มันบรรทุกสินค้าได้มากที่สุด
4.เริ่มทำกิจกรรม  ครูเป็นผู้สนับสนุนเด็กและบันทึกผลการทำกิจกรรม


Self  assessment

          เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังสิ่งที่เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียนและจดบันข้อมูลที่สำคัญแต่ละการเรียนรู้เป็นอย่างดีค่ะ

Friends  assessment

          เพื่อนๆที่ออกไปนำเสนอการจัดการเรียนรู้แต่ละรูปแบบ  สามารถอธิบายอย่างละเอียดและเข้าใจดี  มีกิจกรรมมาสอนเพื่อนๆให้เข้าใจขั้นตอนมากยิ่งขึ้นค่ะ

Teacher  assessment

           อาจารย์เสนอแนะข้อเพิ่มเติมในส่วนวิธีการสอนที่ต้องแก้ไขปรับปรุงให้ละเอียดอย่างชัดเจน  เพื่อที่จะไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กๆได้อย่างถูกต้อง


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562

Monday  9  September  2019

Learnig  Log  5




            วันนี้อาจารย์ได้ให้ตัวแทนนักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจในขั้นตอนการสอนอย่างถูกต้องค่ะ



            การสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะตามข้อตกลง  ( หน่วย ต้นไม้ )



Self  assessment
 
          เข้าเรียนตรงต่อเวลา  การแต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจดูการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะของเพื่อนๆเป็นอย่างดี และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับเพื่อนๆอย่างเต็มที่ค่ะ

Friends  assessment

          เพื่อนที่ออกไปเป็นตัวแทนกลุ่มในการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ก็มีความตั้งใจกันดีทุกคนค่ะ

Teacher  assessment
   
        อาจารย์ได้แนะนำเทคนิคในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  ระหว่างการทำกิจกรรมต้องหาเพลงหรือคำคล้องจองมาร้อง ส่วนเนื้อหาในการสอนอาจจะเพิ่มลูกเล่นอย่างหลากหลายเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานอย่างเต็มที่ค่ะ

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562

Monday  2  September  2019

Learnig  Log  4



             วันนี้อาจารย์ได้นักศึกษาเขียนแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ดังนี้

ส่วนที่  1  กิจกรรมพื้นฐาน   
        1.ให้เด็กๆหาพื้นที่ให้ตนเองโดยใช้อวัยวะส่วนใดๆในร่างกายเว้นระยะห่างจากเพื่อนๆพอสมควรก่อนเริ่มทำกิจกรรม  เช่น   กางแขน   กางขา
        2.ให้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายไปตามจังหวะการเคาะ  ดังนี้
           เคาะ 1 ครั้ง  ให้กระโดดขาเดียว  1 ครั้ง
          เคาะ 2 ครั้ง ให้กระโดดขาเดียว 2  ครั้ง
        เคาะรัว กระโดดขาเดียว ไปรอบห้องอย่างเร็วๆ
เมื่อ เคาะ  2 ครั้งติดกันให้ "หยุด "เคลื่อนไหวในท่านั้นทันที

ส่วนที่  2  กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา
       3.กำหนดพื้นที่ออกเป็น  4  แห่ง  ดังนี้
                                       มุมที่ 1  เป็นที่อยู่อาศัย
                                       มุุมที่ 2  เป็นที่ให้ความร่มเย็น
                                       มุมที่ 3  เป็นที่ผลิตสินค้าประกอบอาชีพ
                                       มุมที่ 4  เป็นทีี่ผลิตยาและอาหาร
      4.ให้เด็กๆกระโดดขาเดียวตามจังหวะการเคาะ เมื่อได้ยินเสียงจังหวะ "หยุด " ให้เด็กๆกระโดดเข้าไปอยู่ในมุมทีี่ครูกำหนด
      5.ปฏิบัติตามข้อที่ 3 และ 4 ซ้ำอีก โดยสลับให้อยู่ในมุมต่างๆที่ยังไม่ได้เข้าไปอยู่จนครบ

ส่วนที่ 3  กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
      6.ให้เด็กๆนั่งเป็นวงกลม  แล้วเหยียดขาและแขน บีบขาและแขนให้ตนเองและเพื่อน


                  ต่อมาเป็นการสาธิตตัวอย่างการสอนของนักศึกษาในกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหว
 ตัวอย่างการสอน  กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะตามคำสั่ง และ
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะผู้นำ-ผู้ตาม






             สุดท้ายอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนอัดคลิปวีดีโอการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ คนละหนึ่งอย่าง เพื่อที่จะนำไปฝึกสอนได้อย่างถูกต้องที่สุด

Self  assessment

         
           ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์ได้ให้ความรู้และจดบันทึกข้อมูลที่สำคัญในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะอย่างทุกขั้นตอนค่ะ

Friends  assessment
         
         เพื่อนๆทุกคนตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์เป็นอย่างดี และช่วยกันตอบคำถามอาจารย์อย่างเต็มที่ค่ะ

Teacher  assessment
       
        อาจารย์อธิบายเทคนิคการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ  คือ  กิจกรรมพื้นฐานและกิจสัมพันธ์เนื้อหาต้องมีความสอดคล้องกันให้มากที่สุด และนำเพลงต่างๆมาร้องในการเปลี่ยนอิริยาบถท่าทางต่างๆเพื่อให้เกิดความสนุกสนานกับตัวเด็กมากที่สุดค่ะ