วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2562

Monday  23  September  2019

Learnig  Log  7


1.การจัดการเรียนรู้แบบทักษะ  Executive  Function  ( EF)

 ความหมายทักษะ EF 

          กระบวนการทางความคิดในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึก การกระทำ เป็นความสามารถของสมองที่ใช้บริหารจัดการในชีวิตเรื่องต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายในชีวิต รู้จักวางแผน มีความมุ่งมั่น จดจำสิ่งต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ รวมทั้งรู้จักริเริ่มลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน    ช่วงวัยที่เหมาะสมจะพัฒนา EF คือ ช่วง 3 – 6 ปี เพราะหากเป็นช่วงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ก็พัฒนาได้ แต่จะได้ไม่มากเท่ากับเด็กปฐมวัย (การที่จะทำให้บบรรลุเป้าหมายจึงต้องมีปัญหา)

 ทักษะ EF  แบ่งเป็น 3  ทักษะ   ดังนี้

        1.ทักษะพื้นฐาน
        2.ทักษะปฏิบัติ
        3.ทักษะกำกับตนเอง

 ทักษะ  EF  มี  9  ด้าน  ดังนี้

        1.ทักษะการจำเพื่อใช้งาน (Working Memory)  การดึงข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่จำและเก็บไว้มาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ
       2.ทักษะยั้งคิดไตร่ตรอง (Inhibtion)  ความสามรถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
       3.ทักษะยืดหยุ่นความคิด (Shift/Cognitive/Flexibility)  ความสามรถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดติดอยู่กับความคิดเดิมๆ
       4.ทักษะควบคุมอารมณ์ (Emotional Control)  ความสามารถในการควบคุมแสดงอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
       5.ทักษะจดจ่อใส่ใจ  (Focus/Attention)   ความสามรถในการใส่ใจจดจ่อ  มุ่งความสนใใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
       6.ทักษะติดตามประเมินตนเอง (Self-Monitoring)  การรู้จักตนเอง รู้ว่าทำอะไร คิดอะไร สามารถประเมินหาข้อบกพร่องได้
       7.ทักษะริ่เริ่มและลงมือทำ  (Initialing)  ความสามรถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิดและลงมือทำที่คิด  กล้าทำ ไม่กลัวความล้มเหลว
       8.ทักษะวางแผนและจัดระเบียบดำเนินการ  (Planning and Organizing)   ทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย  การวางแผน  และการมองเห็นภาพรวม
       9.ทักษะมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) ความพากเพียรและอดทนมุ่งมั่นไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้  

วิธีการพัฒนาทักษะ EF
       1.การเรียนรู้ที่คล่องแคล่ว  
       2.ให้อิสระในการเล่น
       3.การเรียนรู้ผ่านการเล่น
       4.การเรียนรู้และปฏิบัติตามกติกา
       5.การเรียนรู้ผ่านการแก้ไขปัญหา

ตัวอย่างการสอน:  กลุ่มที่ 1  กิจกรรมต่อรางรถไฟโดยใช้หลอด



1.ให้เด็กๆเลือกอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม   เช่น   สีหลอด แทน  รางรถไฟ และ ลูกปิงปอง  แทน รถไฟ
2.ให้เด็กๆต่อหลอดให้เป็นรางรถไฟเพื่อให้รถไฟวิ่งได้   (ครูกำหนดเวลา 2 นาที)  
3.ให้เด็กๆออกมานำเสนอผลงาน หรือ การทำกิจกรรมในการต่อรางรถไฟ
รอบที่ 2  ให้เด็กๆเริ่มทำกิจกรรมใหม่อีกครั้ง โดยรื้อของเดิมออกมาทำใหม่ทั้งหมด (ครูกำหนดเวลา)
ข้อเสนอแนะอาจารย์:  1.ตั้งปัญหา คือ  เรื่องน้ำ   (ให้เด็กๆวาดรูปแหล่งน้ำที่เคยได้ไปกับครอบครัวโดยจับกลุ่มกันกับเพื่อนๆ)
2.ครูถามเด็กๆต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ใดบ้างในการทำแก้วน้ำหรือสไลด์เดอร์
3.ครูและเด็ก ร่วมกันดำเนินการตามแผนที่วางไว้ข้างต้น  (ครูทำแบบประเมินในการทำกิจกรรม และนำไปออกแบบกิจกรรมในขั้นต่อไป)
4.ครูให้เด็กๆออกแบบการทำแก้วน้ำหรือสไลด์เดอร์ ที่เด็กๆชอบ

ตัวอย่างการสอน: กลุ่มที่ 2   กิจกรรมฉีกกระดาษให้ยาวที่สุด                                                            


1.ครูตั้งปัญหา คือ  ทำอย่างไรกับกระดาษถึงจะฉีกกระดาษให้ได้ยาวที่สุด

2.ครูแจกกระดาษให้เด็กๆ ทำกิจกรรม 
3.เด็กๆเริ่มทำกิจกรรมฉีกกระดาษ  กลุ่มใดฉีกกระดาษได้ยาวที่สุดเป็นฝ่ายชนะ  (ครูกำหนดเวลา)

2.การจัดการเรียรู้แบบมอนเตสซอรี่  (Montessori)   โดย Dr. Maria Montessori                                



ความหมายการสอนแบบมอนเตสซอรี่
         เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุกๆด้านในเวลาเดียวกัน 

แนวทางการสอนแบบมอนเตสซอรี่
         เริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ  และทางประสาทสัมผัส  เช่น   การแต่งกาย   การทำความสะอาด  และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ  อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน  เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่างๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้  การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน  เช่น  อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์    อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา  การมองเห็น   การชิมรส  การได้ยิน  การดมกลิ่น  เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน

หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
       1.เด็กได้รับการยอมรับนับถือ
       2.เด็กได้เกิดการซึมซับ
       3.เด็กได้เรียนรู้ช่วงเวลาหลักของชีวิต
       4.การเตรียมสิ่งแวดล้อม
       5.การศึกษาด้วยตนเอง
       6.การวัดประเมินผล
             
            หลักการที่สำคัญที่สุดของการจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) สำหรับเด็กปฐมวัย คือ คุณครูต้องคำนึงถึงความต้องการของเด็ก ปลูกฝังให้เด็กเจริญเติบโตตามความต้องการตามธรรมชาติ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้อย่างอิสระ การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่ (Montessori) เชื่อว่า การที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตัวเองและซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะช่วยทำให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ต้องการ

(การเรียนรู้จากสิ่งของเล่น  คือ  หอคอยพิงค์   ของเล่นจะเรียงจากซ้ายเป็นต้นไปตามช่วงอายุ 3-6 ปี โดยใครเล่นไม่ได้ต้องเล่นให้จนได้)
         
ตัวอย่างการสอน: กลุ่มที่  1 กิจกรรมรูปทรงเรขาคณิต



ตัวอย่างการสอน: กลุ่มที่  2  กิจกรรมถุงปริศนา

 

 


                                     
                                        คลิปวีดีโอ:  กิจกรรมถุงปริศนา



  สุดท้ายได้ทำกิจกรรม Cooking   (หน่วย  ไข่)    กลุ่มดิฉันได้ทำเป็นของหวาน  เมนู "ขนมปังชุบไข่"         

                   

1.ส่วนประกอบ  
    -ไข่
    -ขนมปัง
    -กล้วยหอม
    -คอนเฟลก
    -นมข้น รสช็อกโกแลต
    -น้ำมันพืช

2.อุปกรณ์ในการทำ
     -กระทะ
     -ทัพพี
     -เขียง
     -มีด
     -ถ้วย  จาน
   

Self-Assessment

        เข้าเรียนตรงต่อเวลา    แต่งกายถูกระเบียบ  ตั้งใจฟังการรายงานของเพื่อนๆและจดบันข้อมูลในการจัดการเรียนรู้ที่อาจารย์เพิ่มเติมค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกลุ่ม นำเสนอการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆกันอย่างเต็มที่เป็นอย่างมากค่ะ  มีการเตรียมกิจกรรม และสื่อประกอบการสอนเป็นอย่างดีค่ะ

Teacher  Assessment

          อาจารย์พูดเพิ่มเติมในหลักการสอนแต่ละรูปแบบการสอน อย่างละเอียดเป็นไปตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เพื่อที่นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในการสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องตามหลักการค่ะ
                         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น