วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Monday 18 November  2019

Learnig  Log  12
             



1.กิจกรรมวงกลม
         เริ่มจากการให้เด็กจับคู่ แล้วก็มาเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่  มีบทเพลงใช้ในการทำกิจกรรมให้เด็กปรบมือตามจังหวะดนตรีในบทเพลงพร้อมทำท่าประกอบตามจินตนาการของเด็กๆ 




2.ทักษะ  EF    (Executive Function)
         เริ่มจากการจดจำ   เลือกมาใช้และยืดหยุ่นให้เหมาะสม  ซึ่งเด็กจะเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนและเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ทักษะ EF  แบ่งเป็น  3  ทักษะ   ดังนี้
      1.ทักษะพื้นฐาน ได้แก่  จำเพื่อใช้งาน   คิดไตร่ตรอง   ยืนหยุ่นความคิด   ควบคุมอารมณ์และจดจ่อ
        2.ทักษะปฏิบัติ   ได้แก่  คิดริเริ่ม  ลงมือทำ  วางแผนจัดระบบและมุ่งสู่เป้าหมาย
        3.ทักษะกำกับตนเอง  ได้แก่  ใส่ใจจดจ่อ  ควบคุมอารมณ์และประเมินตนเอง

3.การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป  ( Hihg-scope)


วงล้อแห่งการเรียนรู้
ประกอบด้วย    ดังนี้     1.การเรียนรู้แบบ  Active  learning
     2.เรื่องของการปฏิสัมพันธ์ทางบวก 
     3.เรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
     4.การจัดกิจวัตรประจำวัน   ได้แก่  การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และทบทวน 
     5.การประเมินพัฒนาการ

กรวยประสบการณ์  ของ  (Edgar Dale)
      1.สื่อต้องหลากหลายและเกิดการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม  โดยจัดสื่อเป็นมุมประสบการณ์ 
       2.เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5
      3.เด็กสามารถเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
      4.มีภาษาที่เกิดขึ้นจากเด็ก
      5.ได้รับการสนับสนุนการส่งเสริมจากผู้ใหญ่

การแบ่งพื้นที่การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป
      1.พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัว
      2.พื้นที่ทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่
      3.พื้นที่จัดมุมประสบการณ์  5 มุม  (มุมหนังสือ/มุมบล็อก/มุมศิลปะ/มุมของเล่น/มุมบทบามสมมุติ) ต้องมีสื่อที่หลากหลายและจัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย  มีสัญลักษณ์กำหนดเพื่อให้เด็กทำเอง (ค้น/ใช้/เก็บ)   
ข้อควรระวัง: 1.มุมบล็อกและมุมของเล่น  ไม่ควรอยู่ติดประตู   
2.มุมหนังสือควรอยู่ติดกับมุมวิทยาศาสตร์หรือมุมอาชีพ  ที่ไม่ส่งเสียงดังมาก

กิจวัตรประจำวัน
      1.การรับเด็ก   พูดคุยกับเด็กอย่างเป็นมิตรที่ดี
      2.การเรียนรู้การทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่    คือ ครูและเด็กออกแบบกิจกรรมร่วมกัน  ส่วนกลุ่มย่อย ครูจะเป็นคนวางแผน
      3.การปฏิบัติตามขั้นตอน  
3.1 Plan       ให้เด็กๆร่วมกันวางแผน  ส่วนครูมีหน้าที่สับสนุนและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก (ถ้าเด็กไม่พูดครูต้องกระตุ้นให้เด็กพูดด้วยกิจกรรมต่างๆ)
3.2 Do          เด็กลงมือกระทำ  ส่วนครูสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็ก
3.3 Review   เด็กเล่าเรื่องสิ่งที่เด็กทำ  ส่วนครูมีหน้าที่รับฟัง

ขั้นประเมิน   
      1.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  
      2.ผู้ปกครองสังเกตพัฒนาการของเด็ก
      3.ประเมินการทำงานของครู  
      ครูควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี  เช่น  การพูดชม   การใช้ตาที่เป็นมิตร  ในกรณีที่เด็กทะเลาะกัน ครูจะไม่ตัดสินว่าคนใดผิด ครูจะเข้าไปด้วยความสงบนิ่งให้เด็กพูดปัญหาของตนเองออกมาและแก้ปัญหาไปพร้อมกับเด็ก
       

Self  Assessment

          ตั้งใจฟังฟังบรรยายและจดบนทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับอาจารย์อย่างเต็มที่มากค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกคน  ตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมและตอบคำถามของอาจารย์เป็นอย่างดีมากค่ะ

Teacher  Assessment

         อาจารย์ได้ให้ความรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจน  ทำให้นักศึกษามีวิธีการที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการฝึกสอนได้อย่างถูกต้องค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น