วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Monday 28  November  2019

Learnig  Log  14


10.นางสาวปรางทอง   สุริวงษ์   จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย ผักผลไม้

ขั้นนำ
   1.ครูและเด็กร่วมกัน  อ่านคำคล้องจอง   จ้ำจี้ผักผลไม้
   2.ครูถามเด็ก ทราบผัก-ผลไม้ชนิดใดอีกบ้าง นอกจากในคำคล้องจอง
ขั้นสอน
   1.ครูให้ความรู้เรื่อง  ผัก-ผลไม้ กับเด็ก เช่น  ผักกาด   แครอท   ส้ม  แตงโม
   2.ครูให้เด็กแยกประเภทผัก-ผลไม้  โดยให้เด็กหยิบรูปภาพผัก-ผลไม้ที่ครูเตรียมไว้มาติดลงบนแผ่นชาร์ทแยกประเภท ผัก-ผลไม้  
   3.ให้เด็กนับจำนวนผัก-ผลไม้ ว่ามีจำนวนเท่าใด   แล้วกำกับด้วยตัวเลขฮินดูอารบิกลงไป
   4.ให้เด็กเปรียบเทียบความเหมือน-ความแตกต่างของผัก-ผลไม้   เช่น  เปรียบเทียบว่าผักหรือผลไม้ สิ่งใดมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่ากัน  (หยิบออกทีละ 1 ผล  พร้อมกัน )  เปรียบเทียบลักษณะต่างๆของผัก-ผลไม้ (รูปร่าง/สี/พื้นผิว/กลิ่น) 
   5.ครูผ่าชิ้นส่วนประกอบของผัก-ผลไม้ ให้เด็กๆสังเกต
   6.ให้เด็กๆชิมรสผัก-ผลไม้  ว่ามีรสชาติเป็นอย่างไร
ขั้นสรุป
   1.ครูและเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็นหน่วย  ผัก-ผลไม้
   2.ครูและเด็กร่วมกันอ่านคำคล้องจอง  จ้ำจี้ผลไม้  อีกครั้ง

                                         

11.นางสาวบงกชกมล   ยังโยมร   จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย  บ้านแสนสุข





12.นางสาวสิริวดี  นุเรศรัมย์   จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย ฝน 




13.นางสาวอภิชญา   โมคมูล    จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย ไข่



14.นางสาวชนนิกานต์   วัฒนา    จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย กลางวัน-กลางคืน



15.นางสาวอรอุมา   ศรีท้วม    จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย  วัฏจักรฝน



16.นางสาววิจิตตรา  ปาคำ  จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์  หน่วย  ประโยชน์ของนม



17.นางสาวกิ่งแก้ว   ทนนำ     จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย  ชนิดของนม



18.นางสาวสุภาภรณ์  วัดจัง จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
หน่วย ส่วนประกอบของต้นไม้



19.นางสาวรัตติยากรณ์  ศาลาฤทธิ์    จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์  
 หน่วย ความลับสีดำ



20.นางสาวประภัสสร   แทนด้วง    จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   
หน่วย อาหารดีมีประโยชน์



21.นางสาวเจนจิรา  เปลี่ยนเรืองศิลป์  จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย ผลไม้



22.นางสาวสุชัญญา  บุญญะบุตร   จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์  
หน่วย ร่างกายของฉัน

แผนการจัดประสบการณ์   กิจกรรมเสริมประสบการณ์  (หน่วย ร่างกายของฉัน)

1.วัตถุประสงค์กิจกรรมเสริมประสบการณ์
    1.1 เด็กบอกอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายได้
    1.2 เด็กร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายได้
    1.3 เด็กร่วมกิจกรรมด้วยความสใจ
2.สาระการเรียนรู้  แบ่งเป็น  2 ส่วน
    2.1 สาระที่ควรเรียนรู้   ดังนี้
-อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย   ได้แก่ 
1. ศรีษะ                               10.ข้อศอก 
2. ตา                                   11.ท้อง
3.หู                                      12.มือ        
4.จมูก                                  13.นิ้วมือ
5.ปาก                                  14.ขา
6.คอ                                    15.เข่า 
7.ไหล่                                  16. เท้า
8.หน้าอก                              17.นิ้วเท้า
9.แขน      
-หน้าที่การทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย    ได้แก่  
1.ศรีษะ  ทำหน้าที่  รับรู้และสั่งการทำงานของร่างกาย  
2.ตา   ทำหน้าที่   มองดูสิ่งต่างๆรอบตัว   
3.หู     ทำหน้าที่  ฟังเสียงต่างๆ
4.จมูก  ทำหน้าที่  ดมกลิ่นและหายใจ
5.ปาก  ทำหน้าที่  บดเคี้ยวอาหารต่างๆ
6.คอ    ทำหน้าที่  ส่วนยึดติดระหว่างใบหน้ากับลำตัว
7.ไหล่  ทำหน้าที่  ส่วนยืดหยุ่นเพื่อให้แขนและมือสามารถเคลื่อนที่ได้
8.หน้าอก  ทำหน้าที่  ลำเลียงหลอดเลือดต่างๆ  
9.แขน   ทำหน้าที่   ส่วนที่ยึดติดระหว่างไหล่กับข้อศอก
10.ข้อศอก  ทำหน้าที่   ช่วยในการยืดและเหยียดการเคลื่อนไหวของแขน  
11.ท้อง    ทำหน้าที่   ช่วยในการย่อยอาหารและขับถ่าย
12.มือ      ทำหน้าที่  ช่วยในการหยิบจับสิ่งของต่างๆ
13.นิ้วมือ  ทำหน้าที่  ใช้กดสิ่งของ  หยิบและจับสิ่งของต่างๆ
14.ขา      ทำหน้าที่  การเดิน  วิ่ง และกระโดด ทำกิจกรรมต่างๆ
15.เข่า     ทำหน้าที่  ข้อต่อระหว่างขาท่อนบนและขาท่อนล่าง
16.เท้า     ทำหน้าที่  รับน้ำหนักของร่างกาย
17.นิ้วเท้า ทำหน้าที่  ส่วนที่ยืดมาจากเท้าและรับน้ำหนักของร่างกาย

    2.2 ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
-การประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กจากการทำกิจกรรม
ด้านอารมณ์-จิตใจ
-การแสดงออกอย่างสนุกสนานกับกิจกรรม
ด้านสังคม
-การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
-การแสดงความรู้ด้วยคำพูด

3.กิจกรรมการเรียนรู้  




 ขั้นนำ
    1.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง  หู  ตา   จมูก
    2.ครูถามเด็ก ในเนื้อเพลงมีอวัยวะส่วนใดบ้างและ ทราบอวัยวะส่วนใดอีกบ้างนอกเหนือจากในเนื้อเพลง ให้เด็กสังเกตตนเอง
ขั้นสอน
    3.ครูถามเด็กประสบการณ์เดิมของเด็กและให้ความรู้เรื่อง  ร่างกาย
    4.ครูนำรูปภาพอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายมาให้เด็กดู
    5.ครูอธิบายอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย  พร้อมบอกหน้าที่ของอวัยวะนั้นๆ
    6.ครูให้เด็กหยิบรูปอวัยวะจากกล่องปริศนาคนละ 1 รูปภาพ แล้วให้เด็กออกมาติดรูปภาพอวัยวะ ลงในแผ่นชาร์ทที่ครูเตรียมมาให้
ขั้นสรุป
    7.ครูและเด็กร่วมกันสรุปเกี่ยวกับอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย
    8.ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลง  ตา หู จมูก อีกครั้ง

4.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
     4.1 เพลง  หู  ตา  จมูก
     4.2 รูปภาพอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย
     4.3 แผ่นชาร์ทรูปคน

5.การวัดและประเมินผล
     สังเกตพฤติกรรม
    5.1 การบอกอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกาย
    5.2 การร่วมสนทนาและแสดงความคิดเห็น
    5.3 การร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ
(ผลงานของเด็ก/แบบบันทึกพฤติกรรม) นำไปเทียบกับพัฒนาการในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

6.การบูรณาการ
    6.1 ด้านภาษา
-การพูดและแสงดความคิดเห็น
    6.2 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
-ความสามัคคีในหมู่คณะ
-การปฏิบัติตามกฏกติกา

Self  Assessment

          ตั้งใจสอนกิจกรรมหน่วยการเรียนรู้ของตนเองอย่างตั้งใจมากค่ะ  แต่ยังมีส่วนที่ต้องเพิ่มเติม คือ  มีรูปภาพอวัยะส่วนต่างๆเพื่อให้เด็กได้ดูก่อนที่จะไปขั้นสอน  รวมทั้งจดข้อมูลขั้นตอนการสอนไว้ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นอีกค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกคน  มีความตั้งใจสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างเต็มที่ทุกคนค่ะ  อาจจะมีทั้งคนที่ทำได้ดีและยังคนที่ยังต้องปรับแก้ให้ถูกต้องตามหลักการสอนค่ะ

Teacher  Assessment

         อาจารย์ได้แนะนำส่วนต้องเพิ่มเติม  ในการใช้คำพูดที่สุภาพในการสอน   การอธิบายรายละเอียดในขั้นนำ  ขั้นสอนและขั้นสรุปอย่างชัดเจน สื่อการสอนที่นำมาใช้ต้องมีความน่าสนใจสำหรับเด็ก  และการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ต้องมีความละเอียดชัดเจน (สาระที่ควรเรียนรู้เขียนรายละเอียดเนื้อหาที่จะสอนทั้งหมด)  เพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ความรู้นำไปใช้ฝึกสอนให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดค่ะ
 
   



                 
Monday 25  November  2019

Learnig  Log  13


  1.นางสาวสุพรรณิการ์   สุขเจริญ   จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์    หน่วย สี


2.นางสาวกฤษณา  กบขุนทด  จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย ของเล่น-ของใช้


3.นางสาววสุทธิดา  คชชา   จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์   หน่วย  ลักษณะของนม


4.นางสาวขนิษฐา  สมานมิตร จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์  หน่วย การแปรรูปของนม
                                     

5.นางสาววิภาพร  จิตอาคะ  จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์  หน่วย  ข้อพึงระวังของนม
                             
                   

6.นางสาวมารีน่า     ดาโร๊ส    จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์    หน่วย  ต้นไม้ใบหญ้า



7.นางสาวสุภาวดี  ปานสุวรรณ  จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์
 หน่วย การเกิดภูเขาไฟ
                                               

8.นางสาวสุดารัตน์   อาสนามิ    จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์    หน่วย  สัตว์


9.นางสาวรัตนา    พงษา    จัดกิจรรมเสริมประสบการณ์    หน่วย  ครอบครัวของฉัน

การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 

1.ขั้นนำ
      1.1 การใช้เพลง   คำคล้องจอง   นิทานและปริศานาคำทาย   ควรให้มีสาระเรียนรู้ที่จะนำไปสู่เนื้อหาการสอนได้  (รอบที่ 1 ครูอ่านให้ฟัง /รอบที่ 2  ครูอ่านทีละวรรค / รอบที่ 3 ครูร้องให้ฟัง / รอบที่ 4 ร้องพร้อมกัน)
      1.2 ถามเนื้อหาที่อยู่ในเพลงหรือคำคล้องมีอะไรบ้าง และถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ว่าเด็กๆทราบในเรื่องที่เรียนอยู่มากน้อยเพียงใด

2. ขั้นสอน
      2.1  ถามคำถามที่เกี่ยวกับหน่วยการเรียนรู้นั้นๆ   จากนั้นครูให้ความรู้ในเรื่องหน่วยการเรียนนั้นๆ โดยมีรูปภาพ  หรือวัสดุ-อุปกรณ์จริงให้เด็กได้เรียนรู้
      2.2 มีสื่อการเรียนรู้ให้เด็กๆมาทำกิจกรรม (สื่อที่นำมาควรอยู่ในภาชนะที่ปิดทึบ  เช่น  กล่อง  ตะกร้า)
และแผ่นชาร์ทสรุปความรู้หน่วยการเรียนนั้นๆ

3.ขั้นสรุป
      3.1  ครูตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหาที่ให้เด็กๆทำกิจกรรม
      3.2  ครูและเด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็น
      3.3  ครูและเด็กร่วมกันร้องเพลงอีกครั้ง

Self  Assessment

          ตั้งใจสังเกตการสอนของเพื่อนๆและบันทึกข้อมูลขั้นการสอน เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขการสอนของตนเองให้ดีที่สุดค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกคน  มีความตั้งใจสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างเต็มที่ทุกคนค่ะ  อาจจะมีทั้งคนที่ทำได้ดีและยังคนที่ยังต้องปรับแก้ให้ถูกต้องตามหลักการสอนค่ะ

Teacher  Assessment

         อาจารย์ได้แนะนำส่วนต้องเพิ่มเติม  ในการใช้คำพูดที่สุภาพในการสอน   การอธิบายรายละเอียดในขั้นนำ  ขั้นสอนและขั้นสรุปอย่างชัดเจนและ สื่อการสอนที่นำมาใช้ต้องมีความน่าสนใจสำหรับเด็ก เพื่อให้นักศึกษามีวิธีการสอนที่ถูกต้องตามหลัการสอนที่สุดค่ะ
   



วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Monday 18 November  2019

Learnig  Log  12
             



1.กิจกรรมวงกลม
         เริ่มจากการให้เด็กจับคู่ แล้วก็มาเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่  มีบทเพลงใช้ในการทำกิจกรรมให้เด็กปรบมือตามจังหวะดนตรีในบทเพลงพร้อมทำท่าประกอบตามจินตนาการของเด็กๆ 




2.ทักษะ  EF    (Executive Function)
         เริ่มจากการจดจำ   เลือกมาใช้และยืดหยุ่นให้เหมาะสม  ซึ่งเด็กจะเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม  ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนและเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงทำกิจกรรมอย่างเต็มที่

ทักษะ EF  แบ่งเป็น  3  ทักษะ   ดังนี้
      1.ทักษะพื้นฐาน ได้แก่  จำเพื่อใช้งาน   คิดไตร่ตรอง   ยืนหยุ่นความคิด   ควบคุมอารมณ์และจดจ่อ
        2.ทักษะปฏิบัติ   ได้แก่  คิดริเริ่ม  ลงมือทำ  วางแผนจัดระบบและมุ่งสู่เป้าหมาย
        3.ทักษะกำกับตนเอง  ได้แก่  ใส่ใจจดจ่อ  ควบคุมอารมณ์และประเมินตนเอง

3.การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป  ( Hihg-scope)


วงล้อแห่งการเรียนรู้
ประกอบด้วย    ดังนี้     1.การเรียนรู้แบบ  Active  learning
     2.เรื่องของการปฏิสัมพันธ์ทางบวก 
     3.เรื่องของการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้  
     4.การจัดกิจวัตรประจำวัน   ได้แก่  การจัดกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย และการใช้กระบวนการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และทบทวน 
     5.การประเมินพัฒนาการ

กรวยประสบการณ์  ของ  (Edgar Dale)
      1.สื่อต้องหลากหลายและเกิดการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อม  โดยจัดสื่อเป็นมุมประสบการณ์ 
       2.เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง  5
      3.เด็กสามารถเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง
      4.มีภาษาที่เกิดขึ้นจากเด็ก
      5.ได้รับการสนับสนุนการส่งเสริมจากผู้ใหญ่

การแบ่งพื้นที่การจัดการเรียนรู้แบบไฮสโคป
      1.พื้นที่เก็บของใช้ส่วนตัว
      2.พื้นที่ทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่
      3.พื้นที่จัดมุมประสบการณ์  5 มุม  (มุมหนังสือ/มุมบล็อก/มุมศิลปะ/มุมของเล่น/มุมบทบามสมมุติ) ต้องมีสื่อที่หลากหลายและจัดอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย  มีสัญลักษณ์กำหนดเพื่อให้เด็กทำเอง (ค้น/ใช้/เก็บ)   
ข้อควรระวัง: 1.มุมบล็อกและมุมของเล่น  ไม่ควรอยู่ติดประตู   
2.มุมหนังสือควรอยู่ติดกับมุมวิทยาศาสตร์หรือมุมอาชีพ  ที่ไม่ส่งเสียงดังมาก

กิจวัตรประจำวัน
      1.การรับเด็ก   พูดคุยกับเด็กอย่างเป็นมิตรที่ดี
      2.การเรียนรู้การทำกิจกรรมกลุ่มใหญ่    คือ ครูและเด็กออกแบบกิจกรรมร่วมกัน  ส่วนกลุ่มย่อย ครูจะเป็นคนวางแผน
      3.การปฏิบัติตามขั้นตอน  
3.1 Plan       ให้เด็กๆร่วมกันวางแผน  ส่วนครูมีหน้าที่สับสนุนและบันทึกพฤติกรรมของเด็ก (ถ้าเด็กไม่พูดครูต้องกระตุ้นให้เด็กพูดด้วยกิจกรรมต่างๆ)
3.2 Do          เด็กลงมือกระทำ  ส่วนครูสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเด็ก
3.3 Review   เด็กเล่าเรื่องสิ่งที่เด็กทำ  ส่วนครูมีหน้าที่รับฟัง

ขั้นประเมิน   
      1.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  
      2.ผู้ปกครองสังเกตพัฒนาการของเด็ก
      3.ประเมินการทำงานของครู  
      ครูควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี  เช่น  การพูดชม   การใช้ตาที่เป็นมิตร  ในกรณีที่เด็กทะเลาะกัน ครูจะไม่ตัดสินว่าคนใดผิด ครูจะเข้าไปด้วยความสงบนิ่งให้เด็กพูดปัญหาของตนเองออกมาและแก้ปัญหาไปพร้อมกับเด็ก
       

Self  Assessment

          ตั้งใจฟังฟังบรรยายและจดบนทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับอาจารย์อย่างเต็มที่มากค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกคน  ตั้งใจร่วมกันทำกิจกรรมและตอบคำถามของอาจารย์เป็นอย่างดีมากค่ะ

Teacher  Assessment

         อาจารย์ได้ให้ความรู้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจน  ทำให้นักศึกษามีวิธีการที่จะนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการฝึกสอนได้อย่างถูกต้องค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Monday 11 November  2019

Learnig  Log  11


   

วันนี้อาจารย์ได้ให้มาจัดสภาพแวดลล้อมบรรยากาศห้องปฏิบัติการปฐมวัย  ในส่วนการจัดเก็บสิ่งของให้เข้าที่เรียบร้อย
       

Self  Assessment

       ตั้งใจช่วยเพื่อนๆจัดเก็บอุปกรณ์การเรียนและสื่อต่างๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ค่ะ

Friend  Assessment

        เพื่อนๆทุกคน  ตั้งใจช่วยกันจัดเก็บสิ่งของอย่างเป็นระเบียบร้อยมากค่ะ

Teacher  Assessment

        อาจารย์ให้สื่อการเรียนรู้ที่จะนำไปใช้สอนให้กับเด็กปฐมวัยอย่างเป็นประโยชน์มากค่ะ

วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

Monday  28  October  2019

Learnig  Log  10


            วันนี้ได้มีอาจารย์กรรณิการ์  มาให้ความรู้ เรื่อง  การทำสารนิทัศน์ สำหรับเด็กปฐมวัย
1.คุณค่าและความสำคัญ
       เพื่อพัฒนาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย โดยการไตร่ตรอง
       พัชรี ผลโยธิน   กล่าวว่า  1.สารนิทัศน์การเรียนรู้ของเด็กสามารถสนองความต้องการในการประกันคุณภาพการจัดการศึกษาในสถานศึกษา
2.ครูที่จัดทำสารนิทัศน์มักจะสอนเด็กผ่านประสบการณ์ตรง  (การเล่น/การสัมผัสทั้ง 5)
3.ช่วยให้การสอนหรือการทำงานของครูมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยให้ครูจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการและศักยภาพของเด็ก
5.เด็กรับรู้ความสำคัญและคุณค่าของการเรียนรู้
6.ช่วยให้ผู้ปกครองเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก  การจัดประสบการณ์ของเด็ก การสอนของครูและบทบาทของครู

2.รูปแบบของการไตร่ตรองสารนิทัศน์
      บุษบง   เสนอแนวทางเกี่ยวกับประเภทของหลักฐานในพอร์ตฟอลิโอ  ของครูรายบุคคลที่ใช้พัฒนาการสอน   ได้แก่ 
     1.หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก 
         1.1  หลักฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก   
         1.2  หลักฐานการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  เช่น  คำถามและการสนทนาระหว่างเด็กกับครูหรือเพื่อนในโอกาสต่างๆ ตามตารางประเมินพัฒนาการเด็ก
     2.หลักฐานเกี่ยวกับการสอนของครู
         2.1 ประสบการณ์และการปฏิบัติของบุคคล
         2.2 การเก็บรวบรวมหลักฐานต่างๆ  (สารนิทัศน์)
         2.3 การทบทวนสะท้อนความคิดเพื่อปรับปรุงหรือวางแผน (การไตร่ตรอง)
         2.4 การปฏิบัติที่สะท้อนความรู้-ความเข้าใจ

3.กิจกรรมหลัก  4  กิจกรรมของกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาการเรียนรู้
         3.1 เก็บรวบรวมหลักฐาน
         3.2 สะท้อนความคิดเห็น
         3.3 นำเสนอความก้าวหน้า
         3.4 ประชุมกลุ่มย่อยและประชุมกลุ่มใหญ่

4.ประเภทของสารนิทัศน์
         4.1 บทสรุปโครงการ   เช่น  เรื่อง "ของขวัญ"   ระยะที่ 1 โครงการนี้เริ่มต้นโดยวันเกิดของน้องสตางค์  ได้ตุ๊กตาเป็นของขวัญ  จึงนำมาโรงเรียนด้วย เพื่อนๆสนใจและต่างก็พูดคุยกันเกี่ยวกับของขวัญ  ครูให้เด็กวาดภาพและตั้งคำถามที่อยากรู้  (Web ใยแมงมุม )
ระยะที่  2  ระยะพัฒนาโครงการ  เด็กค้นหาคำตอบ
ระยะที่  3  สรุปโครงการ  (การสังเกตพัฒนาการเด็กและบันทึกพฤติกรรมเด็ก  พอร์ตฟอลิโอ  ภาพถ่ายสะท้อนพัฒนาการเด็ก)
-ผลงานเด็กรายบุคคล  (การวาดภาพในระยะแรกเกี่ยวกับของขวัญเด็กตามจินตนาการ)
-ผลงานเด็กแบบกลุ่ม  (เด็กๆช่วยกันวาดภาพของขวัญแบบต่างๆ มีทั้งขนม  ตุ๊กตา  ของเล่น โดยมีการแบ่งพื้นที่จัดประเภทของขวัญ)

5.การสะท้อนตนเอง   ได้แก่  นักเรียน ผู้ปกครองและคุณครู
6.บทบาทครูกับจัดประสบการณ์ส่งเสริมการคิด
    6.1 การใช้จิตวิทยา  เช่น  ให้อิสระเด็กยอมรับฟังความคิดเห็น
    6.2 การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรม
    6.3 การมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก  เช่น  การทำงานร่วมกับเด็ก ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
    6.4 การใช้คำถามกับเด็ก   ได้แก่   1.คำถามให้ใช้ความคิดพื้นฐาน     ( คำถามให้สังเกต   คำถามทบทวนความจำ   คำถามบ่งชี้ และคำถามจำกัดความ )
2. คำถามเพื่อคิดค้นและขยายความคิด  (คำถามให้อธิบาย  คำถามให้เปรียบเทียบ  คำถามให้จำแนก  คำถามให้ยกตัวอย่าง  คำถามให้สรุปและคำถามตัดสินใจ)

7.ประเภทของทักษะการคิด
      7.1 ทักษะการคิดพื้นฐาน 
      7.2 การคิดทั่วไป  เช่น  การสังเกต
      7.3 ทักษะการคิดระดับสูง

8.กระบวนการคิดของเด็กปฐมวัย
      8.1 การคิดพื้นฐาน   
      8.2 การคิดทั่วไป
      8.3 ทักษะการคิดระดับสูง  เช่น  คิดวิเคราะห์
      8.4 การคิดสร้างสรรค์

9.ขั้นพัฒนาการศิลปะ
      9.1 พัฒนาการทางการเล่นบล็อก 
ขั้นที่ 1  สำรวจถือไปมา (อายุ 2-3 ปี ) 
ขั้นที่ 2  ใช้ไม้ต่อแนวตั้ง-แนวนอน  (อายุ 3-4 ปี ) 
ขั้นที่ 3  ต่อสะพาน 
ขั้นที่ 4  ปิดล้อม-ปิดกั้น 
ขั้นที่ 5  สมมาตร 
ขั้นที่ 6  สร้างสิ่งต่างๆในชื่อ   
ขั้นที่ 7  สร้างและเล่นบทบาทสมมุติ  (อายุ 5-6 ปี )
     9.2 ขั้นการตัดกรรไกร   โดย พัชรี
ขั้นที่ 1   ตัดทีละนิด  (อายุ 2-3 ปี )
ขั้นที่ 2   ตัดชิ้น    (อายุ 3 ปี )
ขั้นที่ 3   ตัดตามแนวเส้นตรง
ขั้นที่ 4   ตัดเส้นซิกแซก  เส้นโค้ง
ขั้นที่ 5   ตัดภาพ จากนิตยสารตามโครงร่าง

10. ประเภทกราฟฟิก
       10.1 แบบรวบยอด
       10.2 แบบความสัมพันธ์   ได้แก่  Vandiagram    T-Chart 
       10.3 ผังกราฟฟิกเชื่อมโยงสาเหตุ  เช่น  ใยแมงมุม
       10.4 ผังการจัดเรียงลำดับข้อมูล   เช่น  ผังลูกโซ่
       10.5 ผังแบบจัดกลุ่ม/จำแนกประเภท   เช่น  แผนภูมิต้นไม้


Self  Assessment

          ตั้งใจฟังฟังบรรยายและจดบนทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง  และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกับอาจารย์อย่างเต็มที่มากค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกคน  ตั้งใจฟังสิ่งที่อาจารย์บรรยายและช่วยกันตอบคำถามกันเป็นอย่างดีมากค่ะ

Teacher  Assessment

          อาจารย์ได้ให้ความรู้ในการทำสารนิทัศน์อย่างมากมาย  รวมทั้งเทคนิคการร้องเพลงเพื่อนำไปใช้ในการฝึกสอนในอนาคตได้อย่างดีมากค่ะ


วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Monday  21  October  2019

Learnig  Log  9



          วันนี้อาจารย์ได้สอนเรื่อง  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย  ดังนี้
1.วิเคราะห์จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย  2560   
     ได้แก่   ส่วนที่ ประสบการณ์สำคัญ  เพื่อทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้      
ส่วนที่  2  สาระสำคัญทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่  เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก   เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมตัวเด็ก   ธรรมชาติรอบตัวเด็ก  และสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2.วิเคราะห์หัวเรื่อง  เขียนมาเป็น  My Mapping (คู่กับประสบการณ์สำคัญ)
3.ออกแบบกิจกรรม   (เนื้อหาจากข้อ 1   ตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้)
4.จัดลำดับกิจกรรม 6  หลักให้ครบทั้ง  5  วัน  

1.การเขียนแผนกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
      ได้แก่   1.แบบบรรยาย  2.แบบผู้นำ-ผู้ตาม   3.แบบตามคำสั่ง   4.แบบตามข้อตกลง 
4.แบบประกอบจังหวะเพลง  5.แบบพร้อมกับอุปกรณ์
ประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ  1.กิจกรรมการเคลื่อนไหวพื้นฐาน    2.กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา  3.กิจกรรมผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

2.การเขียนแผนกิจกรรมกลางแจ้ง
       ส่วนที่ 1 การเล่นอิสระ 
       ส่วนที่  2  เกมเบ็ดเตล็ดและเกมผลัด  (เกมเบ็ดเตล็ด  เป็นเกมที่ได้กันครบทุกคน  เช่น  เกมมอญซ่อนผ้า      ส่วนเกมผลัด  เป็นเกมที่มีจุดเริ่มต้น-วกกลับ  และมีจุดจบ  เช่น  เกมเก็บของ )   ในช่วงวัยเด็กเล็ก  เด็กจะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  " Ecocentric"  เริ่มจากเล่นคนเดียว   เล่นเป็นคู่ขนานและเล่นเป็นกลุ่ม  โดยครูต้องใช้การสาธิตในการสอนกิจกรรมต่างๆ

3.การเขียนแผนเกมการศึกษา
       ได้แก่  เกมจับคู่ภาพเหมือน   เกมลอตโต   เกมจัดหมวดหมู่   เกมโดมิโน   เกมจับคู่ความสัมพันธ์ 2 แกน   เกมอนุกรม   เกมจิกซอว์ล   เกมพื้นฐานการบวก   และ เกมแมกนิกูแร็ก
เริ่มแรกโดยให้เด็กทำกิจกรรมก่อนหรือเกมศึกษาแบบเก่า  ผลัดกันเล่นกันจนครบก่อนเริ่มทำกิจกรรมเกมศึกษาในเนื้อหาใหม่ต่อไป

4.การเขียนแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์
       ส่วนที่ 1   ขั้นนำ  ครูใช้สื่อในการเก็บเด็กให้สงบนิ่ง   เช่น  นิทาน  เพลง  คำคล้องจอง  เกมการศึกษา    และปริศนาคำทาย  (นิทานนำไปสู่การสอนได้เช่นกัน)
       ส่วนที่ 2   ขั้นสอน    1.ครูและเด็กร่วมกันพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้  เช่น  หน่วย ผลไม้
ใช้เพลง ผลไม้   มาให้เด็กๆร้องกัน
2.ถามความรู้เดิมเด็กๆ เกี่ยวกับผลไม้ 
3.ใช้สื่อ  เช่น  ตะกร้าผลไม้    ครูเรียงผลไม้จากซ้ายไปขวา  จากนั้นครูหยิบผลไม้ขึ้นมาทีละผล  แล้วถามว่าผลไม้มีชื่อเรียกว่าอย่างไร   แล้วนับผลไม้  ถามเด็กๆว่าผลไม้มีทั้งหมดจำนวนเท่าไร  เขียนเลขอารบิกกำกับผลไม้    ต่อมาให้เด็กๆหบิบตัวเลขมาแทนค่าและแยกประเภทผลไม้  โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานที่ 1 การนับจำนวนตัวเลข ในกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์  (ประสบการณ์สำคัญ  คือ  1.การนับจำนวนเลข   2.การจัดหมวดหมู่/เปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า)
       ส่วนที่ 3 ขั้นสรุป   ครูสรุปว่า  ผลไม้มีอะไรบ้าง   มีสีใดบ้าง  เปรียบเทียบมากน้อยผลไม้  และสุดท้ายให้เด็กทำกิจกรรมศิลปะ



                    กิจรรม  STEM  Education   เรื่อง  การสร้างแหล่งน้ำ

1.อาจารย์แจกกระดาษชารท์ให้นักศึกษาวาดรูปแหล่งน้ำ
2.แจกกระดาษ  เทปใส มาสร้างที่ปล่อยน้ำ
3.แจกหลอดและลูกปิงปอง  มาทำสไลด์เดอร์

สรุปการทำกิจกรร STEM  Education
   
      S    ได้เรียนรู้เรื่อง  แรงเสียดทาน 
      T    ได้คิดว่าจะนำสิ่งใดมาสร้าง  และแก้ปัญหากับการสร้างแหล่งให้ดียิ่งขึ้น
      E    ได้ออกแบบการสร้างแหล่งน้ำและสไลด์เดอร์
      M   ได้คำนวณการใช้อุปกรณ์ในการสร้างสไลด์เดอร์


Self  Assessment

          เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรีบยร้อย และตั้งใจทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆอย่างตั้งใจมากค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกกลุ่ม ระดมสมองช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจตามที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ

Teacher  Assessment

          อาจารย์อธิบายการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างละเอียดชัดเจนและมีการยกตัวอย่างเป็นอย่างดีมากค่ะ

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562

Monday  10  October  2019

Learnig  Log  8



        วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกัน 5 คน เพื่อเขียนการจัดการเรียนรู้แบบโปรเจกต์ (Project Approach โดยให้นักศึกษาเอาเรื่องใกล้ตัวที่อยู่ภายในห้องเรียน


กลุ่มที่  1    โปรเจกต์  เรื่อง  กระเป๋า




กลุ่มที่  2   โปรเจกต์   เรื่อง  กระเป๋า



กลุ่มที่  3   โปรเจกต์  เรื่อง  กระดุม




กลุ่มที่  4   โปรเจกต์  เรื่อง  ดินสอ




กลุ่มที่  5   โปรเจกต์  เรื่อง  รองเท้า




กลุ่มที่  6   โปรเจกต์  เรื่อง  แอร์





 กลุ่มที่  7   โปรเจกต์  เรื่อง  กระดุม


 
ระยะที่  1   ระยะเริ่มต้น
    1.เด็กๆระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้    ดังนี้
            -กระดุม   
            -รองเท้า 
            -เสื้อ 
            -กระเป๋า
สรุป:  เด็กๆตกลงร่วมกันอยากรู้เรื่อง  กระดุม เพราะอยากรู้ว่า กระดุม  มีกี่ประเภท และทำมาจากอะไร
      
    2.คูรถามประสบการณ์เดิมของเด็กๆเกี่ยวกับ กระดุม    ดังนี้
            -คุณแม่ติด กระดุม ชุดนักเรียน
            -หนูทำ กระดุม หลุดคุณแม่เย็บให้หนู
            -หนูไปตลาดเห็นร้านขาย กระดุม
            -เสื้อหนูมี กระดุม 5  เม็ด
(วาดรูปสถานการณ์ต่างๆตามคำพูดเด็ก)
      
     3.คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับ "กระดุม"
            -น้องเดียร์: กระดุม มีสีอะไรบ้าง
            -น้องมายด์: กระดุม  มีแบบไหนบ้าง
            -น้องเฟียส: ประโยชน์ของ กระดุม มีอะไรบ้าง
            -น้องใหม่: กระดุม  ทำมาจากอะไร

ระยะที่ 2  ระยะรวบรวมข้อมูล

      1.วิธีการค้นหาคำตอบ     ดังนี้
           1.1 สืบค้นข้อมูลที่ห้องสมุด
           1.2 สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
           1.3 ไปร้านขายกระดุม
           1.4 ไปศึกษาที่โรงงานผลิตกระดุม
           1.5 นำวิทยากรมาให้ความรู้
      2.สำรวจความคิดเห็นของเด็กๆ ในห้องเรียนทั้งหมด
      3.รวบรวมข้อมูลแล้วสรุปผลเป็นกราฟฟิกรูปแบบต่างๆที่แตกต่างกันไปในแต่ละหัวข้อ

ระยะที่  3  ระยะสรุปผล
       การจัดนิทรรศการ  "กระดุม"
พิธีกร: ทุกคน ปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน
น้องเดียร์:  ประสบการณ์เดิม
น้องมายด์: วาดประสบการณ์
น้องใหม่: คำถามที่เด็กๆ อยากรู้
น้องเฟียส: วิธีการค้นหาคำตอบ
น้องเดียร์: สีของ กระดุม
น้องมายด์: ลักษณะของ กระดุม
น้องเฟียส: ประโยชน์ของ กระดุม
น้องใหม่: วัสดุที่นำมาทำ กระดุม

สารนิทัศน์

1.เด็กๆทุกคนให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันในการทำโปรเจกต์ (เดียร์)
2.เด็กๆให้ความสนใจและอยากเรียนรู้เรื่อง กระดุม  (มายด์)
3.เด็กๆรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า  (ใหม่)
4.เด็กๆรู้จักการช่วยเหลือกันและกัน และแบ่งหน้าที่กันทำงาน   (เฟียส)



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สารนิทัศน์ปฐมวัย
                                                           
                                          http://child.dusit.ac.th


Self  Assessment

          เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายเรีบยร้อย และตั้งใจทำงานกลุ่มกับเพื่อนๆอย่างตั้งใจมากค่ะ

Friend  Assessment

         เพื่อนๆทุกกลุ่ม ระดมสมองช่วยกันทำงานอย่างตั้งใจตามที่อาจารย์มอบหมายให้ทำอย่างเต็มที่ค่ะ

Teacher  Assessment

          อาจารย์พูดเสนอแนะข้อมูลที่ควรเพิ่มเติมของทุกกลุ่มในเรื่อง การเขียนตัวหนังสือ  การใช้สีไม่ควรใช้สีสะท้อนแสง   การจัดเรียงข้อมูลควรทำเป็นช่องมีกรอบแบ่งอย่างชัดเจนเพื่อให้อ่านเข้าใจง่าย และการทำสารนิทัศน์ที่ถูกต้อง